เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้เยี่ยมเยียนพี่น้องกะเหรี่ยงโพล่ง​ ชุมชนบ้านห้วยหินดำ

เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้เยี่ยมเยียนพี่น้องกะเหรี่ยงโพล่ง​ ชุมชนบ้านห้วยหินดำ ต.วังยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี วันที่ 27 สิงหาคม 2566

——————————————————-

อาจารย์บุญจันทร์ จันหม้อ ที่ปรึกษาเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม​ คุณทรงพลศักดิ์​ รัตนวิไลลักษณ์​ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ คุณประเสริฐ พนาไพโรจน์ ผู้ประสานงานภาคสนามเครือข่ายๆ ตัวแทนของเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องชาวกะเหรี่ยงแถบภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

——————————————————–

ชุมชนห้วยหินดำเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงที่มีประวัติ-ศาสตร์การตั้งถิ่นฐานชุมชนมาเป็นเวลามากกว่า 200 ปีโดยประวัติของชาวกะเหรี่ยงแถบภาคตะวันตกนี้เริ่มในช่วงที่มีการหนีการรุกรานของชาวพม่าเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์และได้รับอนุญาตจากพระมหากษัตริย์ของไทยสมัยนั้นให้สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชาวกะเหรี่ยงจึงแยกย้ายไปอาศัยตามลำน้ำสำคัญๆ กระจายอยู่ในหลายจังหวัดของภาคตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดตาก อุทัยธานีกาญจนบุรีสุพรรณบุรีและเพชรบุรีชาวบ้านห้วยหินดำเป็นหนึ่งในกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่อพยพมาอาศัยตามลำน้ำตะเพิน ซึ่งชาวกะเหรี่ยงจะเรียกตัวเองว่า เผล่อว มีความหมาย คือความบรสิทุธิ์แต่ในภาษาที่ใช้เรียกทั่วไป คือ กะเหรี่ยงโปว์กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยคนละกลุ่มกับกะเหรี่ยงสะกอหรือปกากะญอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภาคเหนือ

———————–

การได้เยี่ยมเยียนหมู่บ้านห้วยหินดำ ต.วังยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ได้เห็นสภาพพื้นที่ทำกิน และแลกเปลี่ยนพูดคุยประเด็นปัญหาในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาให้กับพี่น้องกะเหรี่ยงบ้านห้วยหินดำ

บ้านห้วยหินดำมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่น่าสนใจและเป็นต้นแบบให้กับหลายๆหมู่บ้าน หลายชุมชน โดยในหมู่บ้านพี่น้องกะเหรี่ยงโพล่งจะเป็นชุมชนที่สร้างรายได้ควบคู่กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดและยังคงสืบทอด ต่อยอด ดังนี้

———————–

การทำไร่หมุนเวียน

ไร่หมุนเวียนเป็นบ่อกำหนดวัฒนธรรมชาติพันธุ์ กะเหรี่ยงโพล่ง จ.สุพรรณบุรี แม้จะมีข้อจำกัดในที่ดินทำกินในการทำไร่หมุนเวียนโดยสามารถหมุนเวียนได้เพียง 3 ปี แต่ในพื้นที่ไร่หมุนเวียนชาวบ้านได้ปลูกพืชพันธุ์นานาชนิด ควบคู่กับการบำรุงรักษาดิน โดยในไร่หมุนเวียนจะมีพืชผัก ผลไม้ ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดปีตามฤดูกาล

———————–

การทำโฮมสเตย์

ชาวบ้านได้มีการสร้างรายได้โดยการจัดทำโฮมสเตย์ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สนใจเกี่ยวกับประเด็นไร่หมุนเวียน วัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ราคาเป็นมิตร สำหรับท่านใดที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ ความเงียบสงบ แถมได้ความรู้แบบเต็มเปี่ยมในวัฒนธรรมกะเหรี่ยงแอดมินขอแนะโฮมสเตย์ บ้านห้วยหินดำเลยครับ

———————–

กลุ่มสตรีทอผ้า

หมู่บ้านที่มีเอกลักษณ์และจุดเด่นในเรื่องผ้าทอมือสีธรรมชาติ ที่มีแกนนำและกลุ่มสตรีสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และมีความสำคัญในการสร้างรายได้เสริมให้กับหมู่บ้านห้วยหินดำจากเวลาว่างในการทำเกษตร ทำไร่ ทำนา เสน่ห์ของผ้าทอมือสีธรรมชาติบ้านห้วยหินดำ คือการทอผ้าที่ได้จากการย้อมสีจากธรรมชาติ ไม่เป็นการสร้างมลพิษให้กับผู้สวมใส่และเป็นการอนุรักษ์สีย้อมผ้าดั้งเดิมที่ได้จากสีธรรมชาติ เช่น สีเหลือง ได้จาก แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น เปลือกไม้นมแมว ดอกดาวเรือง สีแดง ได้จากรากยอ แก่นฝาง ลูกคำแสด สีดำ ได้จากผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ สีเขียว ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ ครามย้อมทับด้วยแถลง เป็นต้น

———————–

เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม