เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (กวส.) Karen Network for Culture and Environment (KNCE)
เครือข่ายฯ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยผู้นำชาวกะเหรี่ยงจากจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย และเป็นความร่วมมือระหว่างความเชื่อและศาสนาที่แตกต่างกันโดยผู้นำในขณะนั้นได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ชาวกะเหรี่ยงต้องเข้าใจถึงวิธีการและภูมิปัญญาดั้งเดิมในการพัฒนาอาชีพของตน ดำรงไว้ซึ่งความเป็นอยู่และทรัพยากรที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ยั่งยืน และสอดประสานกับผู้คนและธรรมชาติเหล่านั้น
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลและหน่วยงานพัฒนาอื่นๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้คุณค่าและสิ่งดีงามของชาวกะเหรี่ยงและชุมชนต่างๆเสื่อมโทรมลง กระทั่งนำไปสู่โอกาสการหายสาบสูญไปได้ ดังนั้นเครือข่ายฯจึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อที่จะให้ความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และการสนับสนุนแก่ชาวกะเหรี่ยงและชุมชนในการจัดการกับค่านิยมหรือคุณค่าและทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อจะสามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนา ปรับปรุง และรักษาความเป็นตัวตน และสามารถส่งต่อให้กับรุ่นต่อไปให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วิสัยทัศน์
“ชาวกะเหรี่ยงดำรงสืบทอด และพัฒนาความเป็นกะเหรี่ยงอย่างยั่งยืน และสมานฉันท์ในสังคมที่หลากหลาย”
พันธกิจ/ภารกิจ
- การฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม
- การส่งเสริม/สร้างโอกาส และพัฒนาการศึกษาให้กับชุมชน
- การพัฒนาคุณภาพชีวิต
- การส่งเสริมสร้างผู้นำ องค์กร และเครือข่าย
วัตถุประสงค์
- เพื่อรวบรวมและพัฒนาระบบองค์ความรู้ภูมิปัญญาของกะเหรี่ยงเพื่อสืบทอดและเผยแพร่
- เพื่อให้โอกาสเยาวชนกะเหรี่ยงให้เข้าถึงการศึกษามากขึ้น
- เพื่อพัฒนาการศึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมชนกะเหรี่ยง
- เพื่อเผยแพร่และสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมและปัญหาของกะเหรี่ยง
- เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เท่าทันเหตุการณ์แก่เยาวชน ผู้นำ องค์กรเครือข่ายของชุมชนกะเหรี่ยง
- เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนทั้งชาย-หญิง ที่จะมาสืบทอดภารกิจของเครือข่ายฯ
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนกะเหรี่ยงโดยอาศัยการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาการสมัยใหม่
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลสุขภาพโดยสามารถประยุกต์องค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพชนกับระบบสุขภาพปัจจุบันได้อย่างสมดุล
ค่านิยมหลัก
ค่านิยมหลักของเครือข่ายฯ ประกอบด้วย
- ความเป็นเชื้อชาติกะเหรี่ยง
- กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
- การส่งเสริมความร่วมมือการพิจารณาแนวคิดใหม่ๆแบบวิเคราะห์
- ใช้วิธีการอย่างสันติในการแก้ปัญหา
โครงสร้างของเครือข่ายฯ
โครงสร้างองค์กรของเครือข่ายฯ ประกอบด้วยสมาชิกของเครือข่าย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- สมาชิกชุมชน
- สมาชิกรายบุคคล
- สมาชิกองค์กร
มีคณะกรรมบริหารเครือข่ายทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสมาชิก และมีคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ได้รับเชิญจากสมาชิก คณะกรรมการบริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำและกำหนดทิศทางการทำงานให้กับคณะกรรมการดำเนินงานที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับบุคลากรและกองเลขาฯของเครือข่าย คณะกรรมการทั้งสองชุดจะทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ของเครือข่าย บุคลากรและกองเลขาฯจะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย และทำงานอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกเครือข่ายเฉพาะประเด็นและสมาชิกเครือข่ายเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์